Home Blog Page 31

เอไอเอส ผนึกกำลังพรูเด็นเชียล เปิดตัวซูเปอร์แอปฯ วิเคราะห์สุขภาพร่างกาย รับ New Normal

          นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส  เปิดเผยว่า เอไอเอส ร่วมกับบริษัท พรูเด็นเชียล ประเทศไทย เปิดตัวแอปพลิเคชัน Pulse แอปฯ แรกของไทยที่นำเอานวัตกรรม AI อัจฉริยะมาช่วยในการวิเคราะห์และให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพให้กับคนไทย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิตยุคใหม่ที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ซึ่งในอนาคต เตรียมที่จะขยายฟีเจอร์การใช้งานบนแอปฯ Pulse เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเอไอเอสใช้งานแอปฯ Pulse ได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการเชื่อมต่อฟีเจอร์บนแอปฯ myAIS สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาแอปฯ myAIS อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตด้านต่างๆ ของลูกค้าได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมมากที่สุดอีกด้วย

            นายโรบิน สเปนเซอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย กล่าวว่า พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ยินดีที่ได้ร่วมมือกับ เอไอเอส ในการเปิดตัวแอปพลิเคชัน Pulse ตลอดจนมอบความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันชีวิตไวรัสโควิด-19 ให้แก่ลูกค้าเอไอเอส โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด ถือเป็นการผสานจุดแข็งของทั้งสององค์กร พรูเด็นเชียล ประเทศไทยและ เอไอเอส ภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าและคนไทยทั่วประเทศ

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน Pulse ซูเปอร์แอปฯ นำเทคโนโลยี AI อัจฉริยะ มาใช้ในการวิเคราะห์สุขภาพร่างกาย พร้อมให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อย่างเหมาะสม เพื่อคนไทยที่ใช้มือถือทุกเครือข่ายมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น สร้างต้นแบบนวัตกรรมการดูแลสุขภาพแนวใหม่ ตอบสนองไลฟ์สไตล์ดิจิทัลเต็มรูปแบบ สอดรับวิถี New Normal

  • ชูจุดเด่นด้านการดูแลสุขภาพ ให้คนไทยที่ใช้มือถือทุกเครือข่ายใช้งานฟรี! เพียงใส่ข้อมูลไลฟ์สไตล์ต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร ประวัติสุขภาพ และครอบครัว เป็นต้น ข้อมูลจะถูกนำไปประมวลผลด้วยเทคโนโลยี Digital Twin AI อัจฉริยะ สร้างเป็นโมเดลร่างกายในรูปแบบ 3 มิติ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานทราบถึงภาวะต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงข้อมูลเชิงลึกในด้านความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในระยะยาว ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ด้านการดูแลสุขภาพอื่นๆ พร้อมให้ใช้งานในขณะนี้ และที่จะตามมาในอนาคต
  • พิเศษ สำหรับลูกค้าเอไอเอส ที่สมัครใช้งานแอปฯ Pulse รับฟรีกรมธรรม์ประกันชีวิตไวรัสโควิด-19 มอบความคุ้มครองรวมสูงสุด 555,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครอง 60 วัน รับสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน – 6 สิงหาคม 2563

เงาหุ้น : เทปรับฐาน

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 9 มิ.ย.63 ปิดที่ 1,408.37 จุด ลดลง 30.29 จุด ระหว่างวันร่วงลงไปลึกสุด 37.79 จุด ขณะที่มูลค่าซื้อขายหนาแน่น 115,559.91 ล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 485.70 ล้านบาท

หุ้นมูลค่าการซื้อขายสูงสุด MINT ปิด 23.90 บาท บวก 0.80 บาท, BAM ปิด 25 บาท ลบ 1 บาท, PTT ปิด 39 บาท ลบ 1.75 บาท, PTTEP ปิด 95.50 บาท ลบ 6 บาท และ CPALL ปิด 71.50 บาท ลบ 0.75 บาท

หุ้นไทยโดนแรงเทขายทำกำไรกดดัน หลังดัชนีทะยานขึ้นมาอย่างต่อเนื่องร้อนแรงหลายวันติด ขณะที่เพียงเวลา 2 เดือนกว่า ดัชนีปรับขึ้นจากจุดต่ำสุดของปีในช่วงปลายเดือน มี.ค.แล้วถึง 40% ทำให้ตลาดหุ้นไทยเริ่มตรึงตัว โดยราคาหุ้นแพงขึ้นมามากแล้ว ขณะที่ผลประกอบการกำไรตามไม่ทัน

ฝ่ายวิจัย บล.โนมูระ พัฒนสิน มองดัชนีปรับลงแรงเพราะเริ่มเข้าสู่ช่วงการปรับฐานแล้ว หลังปรับขึ้นตามหุ้นโลกมากว่า 40% นับแต่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา ประเมินแนวรับการปรับฐานรอบนี้ไว้ที่ 1,374- 1,393 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,425-1,430 จุด กลยุทธ์ลงทุนช่วงนี้ แนะ “ลดน้ำหนัก” หรือ “ทยอยขายทำกำไร”

เช่นเดียวกับ บล.ฟิลลิป ที่ชี้ว่า SET เข้าสู่ช่วงพักฐานจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ และแรงซื้อต่างชาติไม่มีความต่อเนื่อง ด้านเทคนิคให้แนวรับที่ 1,400-1,410 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,430 จุด แนะเก็งกำไรด้วยความระมัดระวัง หากดัชนีไม่หลุด 1,400 จุดยังซื้อเก็งกำไรได้ แต่ถ้าหลุดควรชะลอลงทุน เพื่อรอดูสถานการณ์อีกครั้ง

ด้าน บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า การปรับขึ้นจากจุดต่ำสุดที่ 969.08 จุด ถึงปัจจุบันขึ้นมาแล้ว 48.5% มาที่ 1,438.66 จุด เป็นการขึ้นบนความคาดหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจระยะยาว และมองข้ามปัญหาเศรษฐกิจรวมถึงผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนช่วงที่เหลือของปีนี้ บวกกับมูลค่าซื้อขายที่สูงเกินกว่า 1 แสนล้านบาทต่อวัน แสดงให้เห็นว่าตลาดอยู่ในภาวะการเก็งกำไรอย่างเห็นได้ชัด จนทำให้ Valuation ตลาดปีนี้เต็มในเกือบทุกมิติ

ทำให้ SET Index ซื้อขายบนค่า PER สิ้นปี 63 ที่ 22.47 เท่าไปแล้ว ถือว่าแพงและสูงสุดในภูมิภาค แม้จะใช้วิธี Valuation ที่เป็นเชิงรุกที่สุด ก็ยังให้ค่า SET Index อยู่ที่เพียง 1,441 จุด เท่ากับว่าที่ระดับปัจจุบันเต็มมูลค่าไปแล้ว ดังนั้นต้องระวังแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนสถาบัน ที่มีต้นทุนเฉลี่ยหลังเข้าซื้อที่ดัชนีราว 1,203 จุด มีกำไรแล้วกว่า 20% ช่วงไม่ถึง 3 เดือน

ส่วนหุ้นดีที่ยังมีอัปไซด์โดดเด่น คือ BJCHI, STEC, CK, AMATA, WHA, TPIPL, SCCC และ INTUCH แต่หุ้นที่เป็นดาวเด่นสุด คือ TPIPL และ INTUCH!!

ที่มา คอลัมน์ เงาหุ้น โดย อินเด็กซ์ 51 ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

กระทรวงแรงงาน ฝึกอบรมทำเกษตรในชุมชนเมือง

รายงานข่าว เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ที่อาคารวิทยาลัยการแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมทักษะฝีมือเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานนอกระบบ รองรับสถานการณ์ COVID-19 และชมกิจกรรมการฝึกอบรมผ่าน Video Conference Zoom เขตทวีวัฒนา และเขตบึงกุ่ม ฝึกอาชีพแก่ผู้ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 นำร่องฝึกในเขตกรุงเทพมหานคร 4 เขต

ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน

ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้แรงงานได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง ว่างงาน จึงมีมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ให้มีความรู้ สามารถนำไปประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงดูตนเอง ตามนโยบายของ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่เน้นย้ำให้ฝึกทักษะแก่แรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดหรือนำไปประกอบอาชีพได้ ซึ่งปัจจุบันประชาชนปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) นิยมบริโภคอาหารและซื้อสินค้าออนไลน์ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น อีกทั้ง กระแสความนิยมการรับประทานผักปลอดสารพิษมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย จึงมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) จัดฝึกอบรมการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดสารพิษ และการประกอบอาหารไทยเชิงธุรกิจออนไลน์ ประเภทอาหารจานเดียว ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรจะช่วยให้ผู้ผ่านการอบรม สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพอิสระได้ทันทีเมื่อจบฝึก สามารถทำได้ที่บ้านเหมาะกับแรงงานที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง จึงนำร่องการฝึกในเขตกรุงเทพมหานคร 4 เขต ได้แก่ เขตทวีวัฒนา เขตบึงกุ่ม เขตราชเทวี และเขตดินแดง ณ วิทยาลัยการแรงงาน ระยะเวลาการฝึก 15 วัน เป้าหมายจำนวน 7 รุ่นๆ ละ 20 คน รวม 140 คน

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดี กพร. กล่าวว่า กรมมอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการ ปัจจุบันเริ่มฝึกอบรมแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2563 ได้แก่ เขตบึงกุ่ม ณ ชุมชนหมู่บ้านคลองกุ่มพิเวศร ฝึกอบรมการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดสารพิษ อีก 1 ชุมชนใช้พื้นที่โรงเรียนคลองกุ่ม ฝึกอบรมการประกอบอาหารไทยเชิงธุรกิจออนไลน์ ประเภทอาหารจานเดียว ส่วนเขตทวีวัฒนา ณ วัดโกมุทพุทธรังสี เป็นสถานที่ฝึกการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดสารพิษ ณ ชุมชนหมู่บ้านร่วมเกื้อ เป็นสถานที่ฝึกการประกอบอาหารไทยเชิงธุรกิจออนไลน์ และเขตดินแดง ณ วิทยาลัยการแรงงาน จัดฝึกทั้ง 2 สาขาเช่นกัน โดยเริ่มฝึกตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2563 และจะฝึกเสร็จสิ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2563

การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดสารพิษนั้น ผู้เข้ารับการฝึกได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเลือกชนิดเมล็ดพันธุ์ที่นิยมใช้ในการเพาะปลูก ขั้นตอนการเพาะปลูก การเตรียมโรงเรือนแปลงเพาะปลูก การบำรุงดูแล การควบคุมปริมาณน้ำ การเก็บผลผลิต การบรรจุ และการจัดจำหน่าย โดยในพื้นที่เพาะปลูกขนาด 2 x 4 เมตร ใช้งบประมาณ 2,000 บาท ยกตัวอย่าง ผักกรีนโอ๊ค ระยะเวลาการเพาะปลูก 30 วัน สามารถนำไปจำหน่ายได้ราคาประมาณ 500 – 650 บาท/ครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับราคาตลาด สถานที่วางจำหน่ายและบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

นางสาวธนพร มากศักดา (หมู) อายุ 47 ปี เล่าว่า ปัจจุบันช่วยครอบครัวเปิดร้านจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ อาทิ ไข่เค็มสมุนไพร เผือกนึ่ง มันนึ่ง ผักปลอดสารพิษ จำหน่ายในตลาด Green Market เนื่องจากกระแสคนรักสุขภาพมากขึ้น การรับประทานผักปลอดสารพิษจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงสนใจหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดสารพิษ เพื่อนำไปต่อยอดทำจำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

โค้งสุดท้าย กับการลงทุนในกองทุนรวม “SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน”

บทความโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

เข้าสู่โค้งสุดท้ายของ กองทุน “SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” กันแล้ว เหลือเวลาอีกไม่ถึง 30 วัน กับโอกาสที่จะลงทุนในกองทุนที่มีเงื่อนไขพิเศษตามมาตรการของรัฐ โดยเฉพาะผู้ที่มีสิทธิลดหย่อนภาษี ผู้ที่ต้องการออมระยะยาวในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพเติบโตอย่างหลักทรัพย์จดทะเบียน ซึ่งได้รับประโยชน์ จากกองทุนนี้โดยตรง จะมีเวลาตัดสินใจจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 นี้เท่านั้น

สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจจะลงทุน ลองมาสำรวจตัวเองก่อนว่า SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นกองทุนที่ใช่สำหรับคุณหรือไม่

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจเป้าหมายการลงทุน หากคุณกำลังมองหา
– การลงทุนที่ช่วยลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม จากวงเงินที่ได้รับจากกองทุน SSF ปกติ การลงทุนใน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นอีกทางเลือกที่จะเพิ่มวงเงินลงทุนที่นำไปลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้สูงสุด ถึง 200,000 บาท ซึ่งเป็นคนละวงเงินกับ SSF ปกติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเกษียณ และประกันบำนาญ
– การลงทุนที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงิน ผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนใน SET หรือ mai ไม่ว่าจะเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (รีทส์) กองทุนอีทีเอฟ (ETF) หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยสัดส่วนการลงทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละแห่งจะออกแบบกองทุนรวมที่มีกลยุทธ์ลงทุนต่างกันไป เช่น เน้นหุ้นขนาดใหญ่พื้นฐานแกร่ง เน้นหุ้นกลาง-เล็ก ลงทุนตามดัชนี โดยคุณสามารถเลือกกองทุนที่มีนโยบายตรงกับเป้าหมายของคุณได้
– การลงทุนที่เตรียมไว้ใช้ยามเกษียณ ยิ่งเริ่มต้นเร็วจะยิ่งได้เปรียบ จากข้อมูลในอดีตพบว่าการลงทุนระยะยาวมักให้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งการลงทุนใน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน มีระยะเวลา 10 ปี ก็เป็นเวลาที่นานพอจะเห็นแนวโน้มของการเติบโตในระยะยาวได้ ทั้งนี้ ต้องพิจารณาความเสี่ยงร่วมด้วย

ขั้นตอนที่ 2 เลือกกองทุนที่จะลงทุน
ถ้าเป้าหมายการลงทุนของคุณมีครบตามขั้นตอนที่ 1 ข้างต้น กองทุน “SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน” ก็เป็นอีกทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ และ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 มีกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียนให้เลือกลงทุนถึง 18 กองทุน จาก บลจ. 14 แห่ง ซึ่งการเลือกกองทุนให้เหมาะกับตัวเอง สามารถทำได้โดยศึกษาหนังสือชี้ชวน (fund factsheet) อย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้
1. ดูนโยบายลงทุนของกองทุน ว่าลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทใดบ้าง (ซึ่งอย่างน้อย 65% จะลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียน ส่วนที่เหลือ บลจ. สามารถนำไปลงตราสารอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยง หรือเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น)
2. ราคาหลักทรัพย์ที่จะลงทุนมีความผันผวนเพียงใด โดยดูจากความผันผวนของผลการดำเนินงานในอดีต กลุ่มหุ้นที่เน้นลงทุน เช่น ลงทุนในหุ้นบริษัททั่วไป บริษัทขนาดเล็ก-กลาง บริษัทขนาดใหญ่ หรือลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม และมีการกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือไม่
3. ระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม คือ จะอยู่ในระดับ 5 ขึ้นไป ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
4. ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่คุณจะได้รับ โดยค่าธรรมเนียมหลักที่ควรพิจารณา คือ ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนรวม ซึ่งหากเป็นการลงทุนที่ล้อไปกับดัชนี (ลงทุนแบบ passive) ค่าธรรมเนียมก็ควรต่ำกว่าการลงทุนแบบ active ที่ผู้จัดการกองทุนจะต้องใช้ฝีมือในการบริหาร
5. อื่น ๆ เช่น กองทุนมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ เงื่อนไขการสับเปลี่ยนกองทุนมีหรือไม่ เงินลงทุนขั้นต่ำจำนวนเท่าใด

ขั้นตอนที่ 3 ตัดสินใจลงทุน
เนื่องจากเป็นกองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ ถือให้ครบ 10 ปี ถ้าซื้อเกินสิทธิที่จะได้รับลดหย่อน (คือ เกิน 200,000 บาท) ส่วนที่เกินก็ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ หากเตรียมตัวให้พร้อมทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ก็พร้อมที่จะลงทุนได้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ. ที่เสนอขายกองทุนดังกล่าว หรือสอบถามมายังสำนักงาน ก.ล.ต. โทรศัพท์ 1207 กด 7

ครม.อนุมัติออกกม.เก็บภาษีดิจิตัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ คาดรายได้เพิ่ม 3 พันล้านบาท

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ ช่วยสร้างความเป็นธรรมและยกระดับระบบภาษีไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ส่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service)) ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ ในการจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าวกรมสรรพากรได้นำผลการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ที่มีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการต่างประเทศหรือดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและดำเนินการได้มากที่สุด ปัจจุบันมีกว่า 60 ประเทศที่นำแนวทางของ OECD มาแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการระหว่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ กำหนดให้ผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เช่น การให้บริการดาวน์โหลดภาพยนตร์และสื่อบันเทิงต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จากการให้บริการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร เช่นเดียวกับแนวคิดของ OECD ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความง่ายและอำนวยความสะดวกในการชำระภาษีสำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ให้บริการจากต่างประเทศทำหน้าที่นำส่งภาษีแทนผ่านระบบบริการจดทะเบียนและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างง่าย (Simplified VAT)

การปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศไทยกับผู้ประกอบการในต่างประเทศที่ให้บริการในประเทศไทย ทำให้การจัดเก็บภาษีมีความเหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยังเป็นการปรับปรุงกฎหมายภาษีไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางการจัดเก็บภาษีของนานาประเทศ และกรมสรรพากรคาดว่าการปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยทำให้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท

10 ทรัพย์สินที่กรมบังคับคดี “ไม่ยึด – ไม่อายัด”

เมื่อศาลมีคำพิพากษา ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องไปยื่นให้ศาลออกหมายบังคับคดี ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อจัดการ “ยึด-อายัดทรัพย์สิน” ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ตามเงื่อนไขกฎหมายบังคับคดี

แต่หาก “ลูกหนี้” ตามคำพิพากษาของศาล ไม่มีเงินใช้หนี้ เจ้าหนี้ จะสามารถยึดทรัพย์สินทุกอย่างของลูกหนี้ มาใช้แทนหนี้ได้หรือไม่

ทางสำนักกิจการยุติธรรม เปิดเผยว่า ตามพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 กำหนดทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แปลว่า เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ยึด – ไม่อายัด ทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามรายการต่อไปนี้

1.เครื่องใช้สอยส่วนตัว ที่นอนหมอนมุ้ง, เครื่องใช้ในครัวเรือน ราคารวมไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท

2.สัตว์ สิ่งของ อุปกรณ์ทำหากินประกอบอาชีพ เท่าที่จำเป็น ราคารวมไม่เกิน 100,000 บาท

3.สัตว์ สิ่งของ หรือ อุปกรณ์ทดแทนอวัยวะ

4.ทรัพย์สินที่มีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือวงศ์ตระกูล จดหมาย สมุดบัญชี

5.ทรัพย์ที่โอนไม่ได้ตามกฎหมาย หรือไม่ได้อยู่ในการบังคับคดี เช่น สมบัติแผ่นดิน โฉนดที่อยู่ในเวลาห้ามโอน

6.เบี้ยเลี้ยงชีพที่กฎหมายกำหนด เงินรายได้เป็นคราวๆ ที่คนอื่นให้เพื่อเลี้ยงชีพ ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท

7.เงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด ของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือ ลูกจ้างในหน่วยงานราชการ หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานเห็นสมควร

8.เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้เงินสงเคราะห์ ของพนักงาน ลูกจ้าง ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท

9.ค่าชดเชยหรือรายได้อื่น(บุคคลทั่วไป)ไม่เกิน300,000 บาท

10.เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ได้รับ จากการตายของบุคคลอื่น ตามจำนวนที่จำเป็นในการจัดพิธีฌาปนกิจศพ ตามฐานะของผู้ตาย

ที่มา สำนักงานกิจการยุติธรรม

มูลนิธิ LPN จับมือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ปีที่ 3

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN (Labour Protection Network) ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลให้กับแรงงาน สานต่อโครงการ “ช่องทางรับฟังเสียงพนักงาน และอบรมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน” ให้กับพนักงานของซีพีเอฟ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิ LPN กล่าวว่า การดำเนินงานของศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน จากความร่วมมือในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวได้รับรู้สิทธิของตน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมาตรฐานสากล รวมทั้งได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ในเรื่องค่าจ้างค่าตอบแทน สุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน การเข้าถึงสิทธิแรงงานต่างๆ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และจัดการอบรมพนักงาน (Worker Training) ของซีพีเอฟ จำนวนมากกว่า 1,800 คน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 75 เป็นพนักงานต่างด้าว ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานร่วมกันด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นต้น

ในปี 2562 ซีพีเอฟได้รับรายงานจากศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน จำนวน 4 สาย จากพนักงานคนไทยและต่างด้าว เป็นเรื่องการสอบถามข้อมูลและการร้องเรียน โดยสอบถามข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับเงื่อนไขตามกระบวนการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MoU) และในส่วนของการร้องเรียนจากการตรวจสอบพบว่ามีสาเหตุมาจากความกังวลและความเข้าใจผิดของแรงงานเรื่องกฎระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

“ปัจจัยที่ทำให้มีข้อร้องเรียนจากแรงงานซีพีเอฟ ผ่านช่องทาง Labour Voices Hotline by LPN ค่อนข้างน้อย เป็นผลจากบริษัทฯ มีล่ามประจำสถานประกอบการฯของบริษัทฯ คอยเป็นผู้ให้คำแนะนำและปรึกษาพนักงานต่างชาติเบื้องต้น รวมถึง การจัดการแก้ไขปัญหาโดยฝ่ายบุคคลและหัวหน้างานอย่างเป็นระบบและทันท่วงที ประกอบกับการจัดอบรมช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจเรื่องสิทธิแรงงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากขึ้น” นายสมพงค์ กล่าว

นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนในองค์กรอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน แรงงานต่างชาติทุกคนเป็นพนักงานของบริษัท ได้รับค่าจ้างและสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับพนักงานคนไทย การดำเนินงานร่วมกับ LPN ช่วยสนับสนุนบริษัทให้เข้าใจความต้องการ ของแรงงานทุกคนและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดอย่างรวดเร็ว สร้างความพึงพอใจและความเข้าใจอันดีระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

“ซีพีเอฟ มีการทำแบบสำรวจการรับรู้ช่องทางการร้องเรียนผ่านศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน ในพื้นที่ 6 โรงงาน ครอบคลุมทั้งพนักงานไทยและต่างด้าว ผลสำรวจพบว่า 75% ของแรงงานมีการรับรู้และทราบช่องทางการร้องเรียนผ่านศูนยนี้ ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานและลดผลกระทบที่อาจมีต่อธุรกิจ” นายปริโสทัต กล่าว

นอกจากนี้ ในปี 2562 บริษัทได้ทบทวนและดำเนินกระบวนการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ทุกสายธุรกิจในกิจการประเทศไทย ครอบคลุมทุกกลุ่ม ร่วมถึงกลุ่มเปราะบาง (Vulnerable Group) เช่น ชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติและศาสนา ผู้บกพร่องทางร่างกาย เป็นต้น โดยให้ความสำคัญ อาทิ เรื่อง สภาพการจ้างงาน สุขภาพและความปลอดภัยในสถานประกอบการ ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรฐานการครองชีพและความปลอดภัยของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน ฯลฯ

ซีพีเอฟ ยังยกระดับความปลอดภัยอย่างเข้มข้นสำหรับแรงงานทุกคนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พร้อมทั้งจัดการอบรมให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาด และการป้องกันแก่พนักงานต่างด้าว รวมทั้ง ทำแผ่นป้ายแนะนำในภาษาต่างๆ การจัดเพิ่มจำนวนรถตามแนวทาง social distancing เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจและทำงานด้วยความมั่นใจในมาตรการความปลอดภัย จนถึงปัจจุบันไม่มีพนักงานในสายการผลิตติดเชื้อโควิด-19

ปรุงยา 3 ตำรับ ระงับความฟุ่มเฟือย

การวางแผนการเงิน หลายครั้ง ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้จ่ายเงิน ให้ได้ก่อน ปัญหาการเงินของคนส่วนใหญ่ เกิดจาก รายจ่าย มีมากกว่า รายรับ

รายจ่ายดังกล่าว มีทั้งค่่าใช้จ่ายที่จำเป็น และไม่จำเป็น และส่วนใหญ่แล้ว สัดส่วนขอค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น มักจะมีมากกว่า ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น

อย่างเช่น ค่าช้อปปิ้ง แม้บางคนจะพยายามจำกัดวงเงินช้อปปิ้งในแต่ละเดือนไว้ แต่ชีวิตจริง เรามักจะแพ้ทางให้กับ ของเซล ลดราคา 30 40 50 60 70% ทำเอาหน้ามืดตามัว ควักเงินจ่าย ทั้งที่บางทีสินค้าเหล่านั้น เราไม่จำเป็นต้องมีต้องใช้เลยก็ได้ และถึงแม้จะเป็นของจำเป็น แต่ถ้าซื้อมามากเกินไป ของจำเป็นก็จะกลายเป็น ไม่จำเป็น ได้ทันที

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เรียกได้ว่า เป็นความฟุ่มเฟือย คือ ใช้เงินออกไปทั้งที่ไม่จำเป็น แลกกับข้าวของที่ได้รับกลับมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่จำเป็นเช่นกัน

ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ข้อคิดเปรียบเสมือนสูตรยา 3 ขนาน เพื่อให้คนป่วยอย่างเราๆท่านๆ ทานเพื่อระงับเจ้าความฟุ่มเฟือยนี้

  1. ใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ ในแต่ละเดือน เราจำเป็นตัองทำงบประมาณค่าใช้จ่าย เริ่มจากการจดบันทึกรายรับรายจ่าย เพื่อให้ทราบว่า มีเงินเข้า และเงินออก เท่าไร จะได้วางแผนการใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม ด้วยการตั้งงบรายจ่าย และตั้งใจให้แน่วแน่ว่า ไม่จำเป็นก็ไมซื้อ อย่างไรก็ตาม เราอาจตั้งงบใช้จ่าย โดยกันเงินไว้สัก 10% จากรายรับ เช่น งบช้อปปิ้ง กินเที่ยว เพื่อเป็นรางวัลให้ชีวิตกระชุ่มกระชวยในแต่ละเดือน

2. เริ่มต้นการออมเงิน เราสามารถเริ่มต้นออมเงินง่ายๆ ด้วยกันกันเงิน 10% จากรายได้เป็นเงินออม และเมื่อทำจนเป็นนิสัยแล้ว สามารถขยับเพิ่มเติมเงินออม กันเงินในสัดส่วนที่มากขึ้น และไม่กระทบกับการใช้ชีวิตมากนัก ควรที่จะแยกบัญชีเงินออมออกมาต่างหาก และสามารถแตกบัญชีเงินออม เป็นบัญชีเพื่อการออม, การลงทุน, เพื่อกรณีฉุกเฉิน และเพื่อเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ซื้อรถยนต์ บ้าน หรือค่าเทอมลูก ซึ่งนำไปสู่ยาตำรับที่ 3 ที่กล่าวถึงต่อไป

3. การออมอย่างมีเป้าหมาย ด้วยการกำหนดเป้าหมาย ระยะสั้น กลาง และยาว จากนั้นนำไปสู่การดูว่า จะกำหนดจำนวนเงินเท่าไร วิธีการออมเงินที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ เช่น การนำเงินออมไปลงทุน ใช้เครื่องมือการออมเงินอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากธนาคาร ระยะเวลาการออม ต้องใช้เท่าไร ซึ่งจะมีผลต่อจำนวนเงินออมด้วย เช่น เงินออมส่วนนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายเป็นค่าเรียนบุตร เรามีอาจมีเวลาเก็บประมาณ 3-4 เดือน เมื่อรู้ล่วงหน้า ก็จะทำให้การวางแผนการออมได้อย่างเหมาะสม

หากทำได้ตามยา 3 ขนานนี้แล้ว เชื่อได้ว่า สุขภาพการเงินของเรา จะต้องแข็งแรงอย่างแน่นอน

ขอบคุณ ศูนย์คู้มครองผู้บริโภคทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

เงาหุ้น : หุ้นBAMร้อนแรง!!

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 8 มิ.ย. 63  ปิดที่ 1,438.66 จุด  เพิ่มขึ้น  2.96 จุด  มีมูลค่าการซื้อขายทะลัก 105,398.73 ล้านบาท    ต่างชาติพลิกกลับมาขายสุทธิ 787.70 ล้านบาท

                 หุ้นมูลค่าซื้อขายสูงสุด BAM ปิด  26  บาท  บวก 1.20 บาท ,MINT ปิด 23.10 บาท บวก 1  บาท,PTT ปิด 40.75 บาท บวก 1.25 บาท, PTTEP ปิด  101.50 บาท บวก 2.75 บาทและ TOP ปิด 49  บาท ลบ 1.50 บาท

                หุ้นไทยขึ้นแรงในช่วงเช้าตามตลาดต่างประเทศ แต่โดนแรงเทขายทำกำไรสลับออกมาตลอดทั้งวัน ทำให้ปิดตลาดดัชนีปรับขึ้นได้ไม่มาก  ด้วยมูลค่าซื้อขายหนาแน่น โดยหุ้นกลุ่มแบงก์ถูกเทขายทำกำไรหนักสุด

                ขณะที่หุ้น BAM ขึ้นร้อนแรง โดย บล.กรุงศรี ระบุว่า BAM ได้รับคัดเลือกในดัชนี MSCI รอบใหม่จึงเป็นเป้าหมายหลักของนักลงทุนต่างชาติ  โดยแนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ NPLs มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น เป็นโอกาสของผู้ประกอบการติดตามหนี้และบริหารสินทรัพย์ จากการเข้าซื้อ NPLs ในราคาที่ถูกลง (แย่งกันขาย) หนุนพอร์ตลูกหนี้ในมือเพิ่มขึ้นรอออกดอกผลเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว  โดย เป้าหมายราคาสูงสุด IAA Consensus อยู่ที่  29.5 บาท 

                ด้าน บล.โนมูระ พัฒนสิน แนะนำ “ซื้อ”หุ้น  BAM  เช่นกัน โดยให้ราคาเป้าหมายที่  29.50 บาท ระบุว่าถึงเวลาของ BAM ในการซื้อของถูก ในภาวะปัจจุบัน ที่ผู้ประกอบการอื่นต้องกลับมาเน้นการบริหารฐานะการเงินที่ระมัดระวังขึ้น เห็นการแข่งขันเบาบางลง และ BAM มีความพร้อมด้านฐานทุนมากกว่าคู่แข่งชัดเจน ขณะที่ Supply ด้าน NPL จะออกมามากขึ้น ถือเป็นโอกาสทองของ BAM ในการเลือกซื้อสินทรัพย์ NPL คุณภาพดี ให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว   

                กลับมาทิศทางตลาดภาพรวม บล.เอเซียพลัส ชี้ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นไทยเพิ่มขึ้นได้เร็วและแรงสุดเป็นอันดับ 2 ในปีนี้ กว่า 6.91% ขณะที่ค่าเฉลี่ยในการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด ณ กลางเดือน มี.ค. เป็นต้นมาปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 1.92% เท่านั้น บวกกับมูลค่าซื้อขายสูงเกินกว่า 1 แสนล้านบาทต่อวัน แสดงให้เห็นว่าตลาดอยู่ในภาวะ Risk on พร้อมกับนักลงทุนกระโดดเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นมากขึ้น

                 ฉะนั้นช่วงนี้เป็นช่วงที่ตลาดอยู่ในภาวะการเก็งกำไรอย่างชัดเจน ยิ่ง SET Index ปรับตัวขึ้นเร็วมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องกลับมาโฟกัสความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น  แนะกลยุทธ์ Let Profit Run พร้อมกับขยับจุดล็อกกำไรตามขึ้นมาเรื่อยๆ โดยชื่นชอบหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง Laggard กว่าตลาด  คือ CPALL, STEC แล  TVO !!

ที่มา คอลัมน์ เงาหุ้น โดย อินเด็กซ์51 ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เปิดกรอบเวลาฟื้นฟูกิจการการบินไทย ยาว 7 ปี

ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ที่ปรึกษากฏหมายของการบินไทย บอกว่า การบินไทยอยู่สภาวะ “บังคับชั่วคราว” นับต้งแต่การยื่นคำร้องจนถึงวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้อง คือไม่สามารถก่อหนี้ได้ ห้ามชำระหนี้ เว้นแต่หนี้ที่เป็นไปเพื่อการดำเนินการทางการค้าปกติ ครอบคลุมถึงการคืนตั๋ว แลกของรางวัลต่างๆ ซึ่งจะมีผลไปจนถึงคดีฟื้นฟูกิจการเสร็จสิ้น

ทั้งนี้ หลังศาลจะมีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ และกรณีมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนตามที่การบินไทยเสนอประมาณเดือนส.ค.-ก.ย. ปีนี้ จากนั้นขั้นตอน และระยะเวลาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ จะต้องแล้วเสร็จใน 3 เดือน และต้องส่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประมาณ ม.ค. ปีหน้า

ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ที่ปรึกษากฏหมาย

ทั้งนี้ การจัดประเภทเจ้าหนี้ จะอยูในช่วงของการทำแผน โดยแบ่งกลุ่มเจ้าหนี้ เป็น เจ้าหนี้เครื่องบิน เจ้าหนี้หุ้นกู้ เจ้าหนี้คืนบัตรโดยสาร ทำให้แล้วเสร็จในวลา 3 เดือนต้้งแต่แต่งตั้งผู้ทำแผน การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ ถุือว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของแผน เพราะคนที่จะอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ คือ เจ้าหนี้

จากนั้น ประมาณเดือนก.พ.-มี.ค. ปีหน้า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็จะจัดประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณแผน

และปลายเม.ย. ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ และตั้งผู้บริหารแผน ดำเนินการตามแผนต่อไป

ดังนั้น กรอบระยะเวลาการดำเนินการฟื้นฟูกิจการการบินไทยต้องแล้วเสร็จ 5 ปี ต่อเวลาได้ 2 ครั้งๆ ละ 1 ปี เท่ากับว่า การฟื้นฟูกิจการการบินไทยจะแล้วเสร็จในกรอบเวลา 7 ปี

ที่ผ่านมา การบินไทยได้เจรจาหารือกับเจ้าหนี้เครื่องบิน และผู้ให้เช่าเครื่องบินหลายราย ก็ได้รับการผ่อนผันว่า จะไม่มีการยึดเครื่องคืน และให้การบินไทยใช้งานไปก่อน นอกจากนี้ การบินไทยยังได้ยื่นเรื่องให้ศาลตปท.ที่การบินไทยเปิดบิน ให้การรับรองเรื่องการฟื้นฟูกิจการ ขอยืนยันว่า ปัจจุบัน ยังไมมีการยึดเครื่องบินคืน และไม่เจ้าหนี้รายใดยกเลิกสัญญา

อัสสเดช คงสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลัพทรัพย์ฟินันซ่า ที่ปรึกษาการเงิน บอกวา การบินไทยจะกลับมาบินได้เมื่อไร ขึ้นกับองค์ประกอบต่างๆ เช่น บินไปต่างประเทศได้หรือยัง ผุ้โดยสารมีเพียงพอหรือไม่ และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้โดยสาร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทด้วย ปัจจุบัน การบินไทยได้บริหารสภาพคล่องอย่างรัดกุม ลดค่าใช้จ่ายต่างๆมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษาสภาพคล่องให้ได้ยาวที่สุด

อัสสเดช คงสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลัพทรัพย์ฟินันซ่า ที่ปรึกษาการเงิน

ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ การบินไทยจะได้รับเงินจากก.คลัง หรือไม่ ปัจจุบัน ถือว่าการบินไทยพ้นจากรัฐวิสาหกิจแล้ว กระทรวงการคลังไม่สามารถให้การสนับสนุนโดยตรงได้ เชน ปล่อยเงินกู้ หรือค้ำประกันเงินกู้ แต่การบินไทยยังสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่การพิจารณาของศาลล้มละายกลาง สำหรับแหล่งทุนในอนาคต ก็ต้องขึ้นกับผู้จัดทำแผนที่จะพิจาณาว่า มีความต้องการขนาดทุนเท่าไร รวมทั้งแหล่งที่มาของทุน เช่น แปลงหนี้เป็นทุน ทุนจากผู้ถือหุ้นเดิม หรือทุนจากพันธมิตรใหม่ โดยปกติ ต้องดูว่า นอกจากเงินทุนแล้ว จะมีประโยชนอื่นต่อกิจการการบินไทยด้วยหรือไม่

ส่วนการปรับโครงสร้างในการบินไทยนั้น ต้องรอให้ผู้จัดทำแผนพิจารณาถึงความจำเป็นในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟู ซึ่งต้องมีประโยชน์ต่อธุรกิจของการบินไทยมากที่สุด สภาพแข่งขัน การบริหารฝูงบิน

อรอนงค์ ชุณหะมาน ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ และบริหารกลาง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการขอเงินคืนค่าบัตรโดยสาร ว่า การรีฟันด์ หรือเลื่อนตัว เป็นสิทธิของลูกค้า บริษัทไม่มีนโยบายในการระงับสิทธินี้ ยังเปิดรับเรื่องอยู่ แต่การจ่ายคืน ยังทำไม่ได้ตอนนี้ เพราะติดขัดข้อกฏหมาย ต้องขออภัยเรื่องนี้ แต่ตั้งใจจะดูแลลูกค้าอย่างดีที่สุด ภายใต้กระบวนการฟื้นฟู โดยจะแจ้งสิทธิให้ทราบค่อไป ยังไม่สามารถประกาศนโยบายได้ชัดเจนในตอนนี้ ต้องรอแผนฟื้นฟูจากผู้จัดทำแผน

อรอนงค์ ชุณหะมาน ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ และบริหารกลาง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)