Homeบทความเปิด แอร์ แบบไหน ค่าไฟไม่พุ่ง

เปิด แอร์ แบบไหน ค่าไฟไม่พุ่ง

ช่วงหน้าร้อน เดือนมีนาคม-เมษายน ทุกปี ทุกบ้านต้องบ่นว่า ค่าไฟทำไมมันแพงกว่าเดือนก่อน บ่นกันได้ยินได้ฟังกันทุกปี ยิ่งปีนี้ เสียงบ่นดังมากกว่าทุกปี เพราะดันเจอพิษโควิด-19 เล่นงานเอาจนหลายคน ต้องทำงานอยู่กับบ้าน หรือไม่ก็ต้องจำยอมอยู่บ้าน เพราะไม่มีงานให้ทำ จะชั่วคราว หรือถาวร ต้องลุ่นดูสถานการณ์กันวันต่อวัน

ในบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตกเป็นจำเลย ข้อหา กินไฟ หนีไม่พ้น เครื่องปรับอากาศ พอเห็นบิลค่าไฟสูงขึ้นทีไร ต้องโทษแอร์กันทุกที ผู้ใช้มักจะบ่นว่า ก็เปิดใช้แอร์เท่าเดิม แต่ทำไมค่าไฟถึงพุ่งเยอะขนาดน้านน ทางกระทรวงพลังงาน มีคำอธิบายให้หายข้องใจ

ส่วนประกอบของแอร์ มีคอมเพรสเซอร์ที่ตั้งอยู่นอกบ้าน แม้เราจะมีพฤติกรรมการใช้ไฟในช่วงเวลาเดิมอยู่เป็นประจำ แต่ในช่วงที่อากาศข้างนอกร้อนมากขึ้น คอมเพรสเซอร์ก็ทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยการใช้ไฟมากขึ้นด้วยเช่นกัน จึงไม่ต้องแปลกใจครับว่าทำไมค่าไฟจึงเพิ่มขึ้นมากในช่วงฤดูร้อน และโดยเฉพาะช่วงนี้ที่คนส่วนใหญ่ทำงานอยู่ที่บ้านตามมาตรการ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ

เมื่อเปิดใช้แอร์ 1 ชั่วโมง เท่ากับใช้ไฟไปประมาณ 800 – 3,300 วัตต์ (ขึ้นอยู่กับขนาดของแอร์แต่ละบ้าน) เท่ากับต้องเสียค่าไฟฟ้าเฉลี่ยถึง 3-13 บาท/ชั่วโมง กระทรวงพลังงานยกตัวอย่างการคำนวณค่าไฟ กับเครื่องปรับอากาศ 3 ขนาดที่แตกต่างกัน โดยเปิดแอร์แต่ละตัว วันละประมาณ 8 ชั่วโมง ในระยะเวลา 1 วัน จะเสียค่าไฟเท่าไร

  • แอร์ตัวแรก : ขนาด 1,200 วัตต์ ÷ 1,000 x 8 ชม. x 4 บาท = 38.40 บาท
  • แอร์ตัวที่สอง : ขนาด 1,800 วัตต์ ÷ 1,000 x 8 ชม. x 4 บาท = 57.60 บาท
  • แอร์ตัวที่สาม : ขนาด 2,400 วัตต์ ÷ 1,000 x 8 ชม. x 4 บาท = 76.80 บาท

ถือว่าค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว นี่ยังไม่นับรวมกับค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านชนิดอื่นๆ

กระทรวงพลังงาน แนะนำให้ทุกคนช่วยกันประหยัดพลังงาน ซึ่งก็เท่ากับประหยัดเงินในกระเป๋าของเราด้วย ตามนี้

1.ใช้แอร์ที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์5 และเลือกให้เหมาะกับขนาดห้อง

2. ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมที่ 25 องศา

3. ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้ามา และไม่ให้ความเย็นรั่วไหลออกนอกห้อง หรือใช้ม่านกั้นประตู/หน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดภายนอก

4.เปิดพัดลมช่วย ร่วมกับการเปิดแอร์

5. ทำความสะอาดล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน

เท่านี้ก็จะช่วยให้แอร์ในบ้านเรา ไม่ทำงานหนักมากขึ้น และไม่ต้องเสียค่าไฟกันเยอะๆ



ที่มา กระทรวงพลังงาน

- Advertisment -
[td_block_1 custom_title="Must Read" limit="4" f_header_font_transform="uppercase" ajax_pagination="next_prev" category_id="9" sort=""]