Home Blog Page 21

เอไอเอส จัดแฟนมีท วีอาร์ เสมือนจริง ใกล้ชิดศิลปินนาดาว รับยุคนิวนอร์มอล

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมต่อยอดศักยภาพและขยายประโยชน์ของ 5G ให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น ด้วยการผลิตคอนเทนต์ในลักษณะ Co-Creation ภายใต้ชื่อ AIS VR Originals โดยเปิดกว้างที่จะร่วมมือกับพันธมิตรในวงการ ทั้งค่ายผลิตคอนเทนต์ชื่อดัง พันธมิตรชั้นนำระดับโลก และ Content Creator อิสระรุ่นใหม่ทุกคน เพื่อผลิต VR Content ร่วมกัน พร้อมมีแพลตฟอร์มรองรับการนำไปเผยแพร่ให้คนไทยได้รับชม นั่นคือ แอปพลิเคชัน AIS PLAY VR  ซึ่งติดตั้งบนแว่น AIS VR 4K ที่สามารถรับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ตอบรับไลฟ์สไตล์ความบันเทิงและกิจกรรมแห่งยุค New Normal

โดยล่าสุด เอไอเอส ร่วมกับ นาดาว บางกอก ผู้พัฒนาบริหารและดูแลศิลปิน ประสานความร่วมมือในลักษณะ Co-Creation ผลิต VR Originals Content เป็นรายแรกของไทย ประเดิมด้วยคอนเทนต์โมเม้นต์สุดสวีทของคู่จิ้นซีรีส์วาย “บิวกิ้น-พีพี” และหนุ่มหน้าใส “สกาย วงศ์รวี” ที่จะมาเปิดโลกการท่องเที่ยวใบใหม่ให้ผู้ชม โดยผู้ชมสามารถ Action โต้ตอบกับคอนเทนต์ที่รับชมอยู่ได้อย่างสนุกกว่า และอินกว่าที่เคย ผ่านนวัตกรรมแว่น AIS VR 4K

พร้อมจัดงาน “AIS VR Originals The 1st Virtual Fan Meeting”  กิจกรรมแฟนมีทในรูปแบบ VR Live Streaming ครั้งแรกของไทย ให้ความรู้สึกใกล้ชิดศิลปิน  ยกเป็นโชว์เคสต้นแบบของการต่อยอดนวัตกรรมเครือข่าย 5G และเทคโนโลยี VR ที่สามารถจับต้องได้จริง เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงไทย สนับสนุน VR Content Creator  รุ่นใหม่ และเปิดมิติใหม่ของการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้กับประเทศ

นอกจากนี้ เอไอเอสเตรียมที่จะขยายไปสู่คอนเทนต์ในรูป Music Performance เช่น การแสดงโชว์จากศิลปิน และด้าน Education เช่น ร่วมกับ สสวท. ทำคอนเทนต์ VR ในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับหลักสูตรชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษา, ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ในรูปแบบ VR โชว์เครื่องบินในแต่ละรุ่น เสมือนจริง และการเที่ยวชมพระราชวังพญาไทอย่างใกล้ชิดในรูปแบบ VR เพื่อเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ให้ผู้เรียนสามารถสนุกได้มากกว่าที่เคย

ซีพีเอฟ ปล่อย CP Veg It Up ซุปผักแท้ 100% นวัตกรรมอร่อยรับยุค New Normal

นายอำนาจ กัลยาณคุณาวุฒิ รองกรรมการผู้จัดการ ด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ซุป ซอส เครื่องดื่ม บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ซีพีเอฟได้ออกผลิตภัณฑ์ CP Veg it up ซุปผักแท้ 100% มี 2 รสชาติ คือซุปข้าวโพด และซุปฟักทอง พร้อมรับประทาน ซึ่งหลังจากที่นำร่องจำหน่ายผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มคนรักสุขภาพ จากรสชาติที่อร่อยเหมือนทำสด โดยไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมวัตถุดิบ สะดวกต่อการรับประทานตอบโจทย์ผู้บริโภคยุค New Normal    

ผลิตภัณฑ์ CP Veg it up ในส่วนของซุปข้าวโพด ทำจากข้าวโพดหวาน เต็มด้วยวิตามินบี1 วิตามินบี2  รับประทานง่าย อร่อย และซุปฟักทอง ทำจากฟักทองสด อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบี1 และวิตามินบี2  ด้วยความหวานตามธรรมชาติไม่ใส่น้ำตาล ไม่ใส่ผงชูรส ไม่เจือสีสังเคราะห์

“CP Veg it upเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่บริษัทนำระบบการผลิตซุปด้วยUHT Aseptic  เป็นระบบปลอดเชื้อ 100%  นับเป็นครั้งแรกของวงการอาหารที่นำระบบนี้มาใช้ทำให้คงคุณค่าสารอาหารเหมือนทำสดใหม่ๆ  และผลิตภัณฑ์สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้นาน 6เดือน โดยไม่ต้องใส่สารวัตถุกันเสีย สะดวกยิ่งขึ้นจัดเก็บโดยไม่ต้องแช่เย็น ทำให้อร่อยพร้อมรับประทานได้ 24 ชั่วโมง ขณะเดียวกันถ้วยบรรจุภัณฑ์ CP Veg It Up ยังทำจากกระดาษ สามารถย่อยสลายได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” นายอำนาจ กล่าว

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นพัฒนาอาหารปลอดภัยที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้ผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  ร่วมสัมผัสความอร่อย โดยสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ CP Veg It Upได้ที่ ซีพี เฟรชมาร์ท, 7-Eleven Tesco lotus Express และร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ    

AIS ยกทัพหุ่นยนต์ 5G ดูแลสุขอนามัยผู้เข้าชมงานที่ไบเทค เสริมมาตรการจัดงานแฟร์วิถีใหม่ในไทย

นางศิวลี บูรณสงคราม หัวหน้าแผนกงานบริหารแบรนด์ เอไอเอส กล่าวว่า บริษัทร่วมมือกับศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) ซึ่งมีผู้เข้าชมแต่ละงานเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี โดยเอไอเอส  ได้พัฒนา Digital Solutions จากเทคโนโลยี 5G ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดูแลความปลอดภัยและสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่ตอกย้ำการนำเทคโนโลยี 5G ที่จับต้องได้  สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น

  1. นำหุ่นยนต์อัจฉริยะ ช่วยปฏิบัติหน้าที่ในการคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ และดูแลสุขอนามัยได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง เพื่อลดการสัมผัสใกล้ชิด และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ภายในพื้นที่ซึ่งมีการจัดงาน โดยหุ่นยนต์ที่จะมาช่วยดูแลคนไทย ได้แก่
    • หุ่นยนต์ ROBOT FOR CARE (ROC) ช่วยปฏิบัติหน้าที่คัดกรองและตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าชมงาน, วางให้บริการเจลแอลกอฮอล์
    • หุ่นยนต์ LISA ทำหน้าที่ต้อนรับ, ให้ข้อมูล และพัฒนาระบบนำทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดที่กำหนดไว้
    • หุ่นยนต์ AIS K9 บริการเจลแอลกอฮอล์ รอบๆ พื้นที่จัดงาน
    • หุ่นยนต์ PP ทำหน้าที่ต้อนรับและแสดงตัวอย่างสื่อประชาสัมพันธ์ หรือโปรโมชั่นที่น่าสนใจให้ผู้เข้าชมงานได้รับชมก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่างๆ
  2. เตรียมติดตั้ง 5G เสริม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานลูกค้าเอไอเอส และเพิ่มศักยภาพความสามารถทางการแข่งขันของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC)

นายจักริน อังประทีป ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) กล่าวว่า ทางศูนย์ฯได้กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เข้าชมงาน ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยจากสมาคมการแสดงสินค้าไทย (TEA) ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าร่วมงานทุกภาคส่วน พร้อมชูมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เยี่ยมชม ด้วยการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการนำนวัตกรรม UVC Technology หรือเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งสามารถกำจัดไวรัส COVID-19 และแบคทีเรียในอากาศ มาใช้ภายในศูนย์ฯ

นอกจากนี้ ยังมีจุดคัดกรองอุณหภูมิ จุดลงทะเบียนสแกนไทยชนะ และจุดให้บริการเจลแอลกอฮอล์อย่างทั่วถึง เพื่อให้ลูกค้าและผู้จัดงานที่เข้ามาใช้บริการมั่นใจในเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด” โดยงานที่กำลังจะจัดขึ้นภายในศูนย์ฯจะเป็นงานนิทรรศการสำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมในเสกลใหญ่ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ อาทิ งานบ้านและสวนแฟร์ Midyear 2020, งานกินดีอยู่ดี By ชีวจิต, งาน Amarin Baby and Kids Select #2, งาน Commart Thailand 54, งาน Home Electric Midyear Sale และงาน Big Motor sale 2020 ที่คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานในเดือนนี้มากกว่า 300,000 คน นอกจากนี้ล่าสุด BITEC ยังได้รับความไว้วางใจจาก International Diabetes Federation เป็นสถานที่จัดงานประชุมวิชาการทางการแพทย์โรคเบาหวาน ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานในปี 2564 งานประชุมนานาชาติดังกล่าวตอกย้ำความเป็นผู้นำศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมที่ดีที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิก

เงาหุ้น : รอฟ้าหลังฝน

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 6 ส.ค.63 ปิดที่ 1,333.22 จุด ลดลง 4.13 จุด มีมูลค่าซื้อขาย 55,061.31 ล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 608.10 ล้านบาท

หุ้นมูลค่าซื้อขายสูงสุด PTTGC ปิด 51.25 บาท บวก 2.25 บาท, BAM ปิด 24.80 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง, ADVANC ปิด 190 บาท บวก 5 บาท, AOT ปิด 49.75 บาท บวก 0.25 บาท และ CPALL ปิด 68.75 บาท บวก 0.50 บาท

ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ออกบทวิเคราะห์ ประเมินตลาดหุ้นไทยครึ่งแรกของเดือน ส.ค.63 ว่าดัชนี น่าจะอยู่ภายใต้แรงกดดันของตัวเลขที่สำคัญ 2 รายการคือ GDP และผลประกอบการ Q2/63 ซึ่งจะถูกประกาศออกมา โดยเชื่อว่าน่าจะเป็นจุดต่ำสุดของปี หลังจากนั้นน่าจะค่อยๆดีขึ้น

ช่วงครึ่งแรกของเดือน ส.ค.ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยจะเผชิญแรงกดดันและมีข้อจำกัดในการปรับขึ้นของดัชนีจาก 4 ปัจจัย คือ 1.กระแสการปรับลด GDP ปี 63 ที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เอเซีย พลัสประเมินว่า มีโอกาสจะเห็น Downside ของประมาณการ GDP ปี 63 จากความไม่แน่นอนของเหตุการณ์อนาคต เช่น การกลับมา Reopen ธุรกิจของไทย ในภาวะที่ประเทศคู่ค้าหลักของไทยหลายประเทศกลับมา Lockdown รอบที่ 2 และผลกระทบสำคัญ คือ การบริโภคครัวเรือนช่วง 2H63 คาดจะได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่หายไปจากผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น

2.การรายงาน GDP Q2 ของสภาพัฒน์วันที่ 17 ส.ค.นี้ คาดหดตัว 15% yoy หรือหดตัว 18.9%qoq อยู่ที่ 2.26 ล้านล้านบาท ประเมิน Q2/63 เป็น Bottom ของปีนี้ หาก GDP ออกมาหดตัวมากกว่าที่คาด หรือใกล้เคียง เชื่อว่าดัชนีหุ้นไทยจะถูกกดดันต่อ

3.ความตึงเครียดสหรัฐฯ-จีน ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯต้องการให้ Application ของจีน Remove ออกจาก Apple Store และ Google Store ทั้งหมด ประเมินว่ามีโอกาสร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะการเลือกตั้ง วันที่ 3 พ.ย.นี้ “ทรัมป์” จะเร่งสร้างคะแนนเสียง 4.การปรับลดประมาณการกำไร บจ.

สรุปคือ ตลาดต้องเผชิญความเสี่ยงจาก 4 เหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นพร้อมๆกันกลางเดือน ส.ค.แต่หลังจากนั้นจะเป็นเหมือน “ฟ้าหลังฝน” คือ เป็นโอกาสทยอยเข้าสะสมหุ้นไทย จากเศรษฐกิจที่น่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว รวมถึงแรงผลักดันจากสภาพคล่องส่วนเกินที่ล้นระบบช่วยหนุนอีกแรง

นักกลยุทธ์แนะเน้นเลือกลงทุนหุ้นผันผวนต่ำ–ปันผลสูง พร้อมกับกำไรอยู่ในระดับที่ดีกว่าตลาด อย่าง MCS, INTUCH โดยคาดว่าจะมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลทั้ง 2 บริษัท!!


ที่มา คอลัมน์ เงาหุ้น โดย อินเด็กซ์ 51 หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

AIS ผนึกกำลังจุฬาฯ เดินหน้าสานต่องานวิจัยสู้ภัยโควิด-19

นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เปิดเผยในโอกาสแสดงผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ของคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมกับผู้ผลิตและผู้ให้บริการสื่อสาร ว่า AIS รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนสนับสนุนภาครัฐ และภาคการศึกษา เปิดพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมให้แก่นิสิต นักศึกษา นักพัฒนา รวมถึง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยี Digital ของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาไอเดียด้วยเทคโนโลยีล่าสุด 5G และเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น  AI, IoT  ซึ่งตลอดช่วงระยะเวลาของการร่วมเป็นพันธมิตร สามารถเรียนรู้ และนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปสร้างสรรค์ และพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเปิดตัว 5G อย่างเป็นทางการในประเทศไทยได้ตามเจตนารมณ์ของภาครัฐ

วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร เอไอเอส

ทั้งนี้ AIS และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนาและทดลองทดสอบเทคโนโลยี 5G ภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา เพื่อร่วมมือกันใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

1. ทดลองทดสอบร่วมกันทางเทคนิค เพื่อทำความรู้จัก เข้าใจทุกแง่มุมของเทคโนโลยี 5G ไปด้วยกันในฐานะนักวิจัย และผู้ให้บริการเครือข่าย

2. เปิดพื้นที่เพื่อให้นักวิจัยและนิสิต ได้ลงมือศึกษาบนเครือข่าย 5G จริง ผ่าน “ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center” ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช. ที่เปิดให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G แห่งแรกในเมืองไทย ทั้งนี้ เอไอเอส ยังมีความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งศูนย์ทดสอบ 5G LIVE ในชื่อ “ 5G Garage Innovation LAB”  

3. เอไอเอสและคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันพัฒนา Use case ต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงให้การสนับสนุนระบบสื่อสาร หรือ Digital Infrastructure  สำหรับ Use case ในภาคสาธารณสุข ที่ได้มีโอกาสนำไปใช้งานจริงแล้วและประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา

โดยความร่วมมือที่ผ่านมา ประกอบด้วย

  • ร่วมนำเสนอเทคโนโลยี 5G และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ใน “ศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เตรียมเปิด “ศูนย์ 5G Garage Innovation LAB”  ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง AIS และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจาก กสทช. เพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G แห่งแรกในเมืองไทย ที่ให้ได้ลงมือพัฒนาจริง ภายใต้เครือข่าย 5G LIVE  ซึ่งนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem สามารถเข้ามาใช้ 5G Garage Innovation LAB  เป็นพื้นที่ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ นวัตกรรม 5G ได้ในทุกแง่มุม เพราะจะประกอบไปด้วยข้อมูลเทคโนโลยีเกี่ยวกับ 5G ที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานแบบครบวงจร ตั้งแต่ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, อุปกรณ์โครงข่าย, อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ ตลอดจนตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน หรือ Use case ที่มาจากความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์ระดับโลก พร้อมทั้งการสัมมนา workshop เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค รวมไปถึงร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับในประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง โดยคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากเอไอเอส และ พาร์ทเนอร์ในแวดวงโทรคมนาคมทั้งในและต่างประเทศ
  • ร่วมกับนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมนำนวัตกรรม IoT, AI, Robotic และ 5G เข้ามาประยุกต์ใช้ในเขตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพื้นที่โดยรอบ เพื่อให้เป็นเสมือนศูนย์กลางเทคโนโลยี Digital ที่ทันสมัย และสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดในประเทศ โดยรูปแบบของ Use case ที่อยู่ระหว่างการเตรียมพัฒนา เช่น  Robot Mini Cargo,  Smart Pole, Robot  Physical therapy ฯลฯ โดยเมื่อเดือนเมษายน 2562 ได้เปิดตัวรถยนต์ไร้คนขับคันแรกของไทยที่เชื่อมต่อบนเครือข่าย LIVE Network 5G (1st 5G Connected Car) ที่เกิดจากการศึกษาและทดลองร่วมกันระหว่าง SMART MOBILITY RESEARCH CENTER จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเอไอเอส ที่ทำให้รถยนต์สามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้คนขับ ผ่านการใช้งานเครือข่าย 5G  ของเอไอเอส
  • สนับสนุนระบบสื่อสารและ Digital Infrastructure ให้ Use case ของคณาจารย์ นักวิจัย ในวงการสาธารณสุข เชน การทดสอบหุ่นยนต์ต้นแบบในการรักษาทางการแพทย์เพื่อผ่าตัดเจาะกระดูก  ที่ใช้การควบคุมระยะไกล (remote) ซึ่งในระหว่างกระบวนการเจาะกระดูกคนไข้เพื่อรักษานั้น แพทย์จะสามารถรับรู้ได้ถึงทุกสัมผัสในทุกขั้นตอนการเจาะผ่าน remote  รวมถึงเทคโนโลยี Robotic ที่ได้เข้าไปสนับสนุนระบบสื่อสาร (ซิมการ์ด) ให้กับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์ Regional Center of Robotics Technology จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์คุณหมอ และหุ่นยนต์นินจา, ทีม CU-RoboCovid คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาหุ่นยนต์ปิ่นโตและหุ่นยนต์กระจก เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงระหว่างวิกฤติโควิดที่ผ่านมา

เงาหุ้น : 6 หุ้นปลอดโควิด

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 5 ส.ค.63 ปิดที่ 1,337.35 จุด บวก 6.54 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 60,357.16 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 672.87 ล้านบาท

หุ้นมูลค่าการซื้อขายสูงสุด CPALL ปิด 68.25 บาท ลบ 1 บาท, PTTEP ปิด 94.25 บาท บวก 4.75 บาท, PTT ปิด 39 บาท บวก 1 บาท, AOT ปิด 49.50 บาท ลบ 1.75 บาท, PTTGC ปิด 49.00 บาท บวก 1.75 บาท

มีแรงเข้าซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานปิโตรเคมีตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ดันตลาดปรับขึ้นมาปิดตลาดในแดนบวกได้ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดอื่นในภูมิภาค

ขณะที่ กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตามตลาดคาด และยังมีประเด็นที่น่าสนใจจากการประชุม คือ เศรษฐกิจไทยปี 63 แม้จะเริ่มเห็นการฟื้นตัว MoM แต่ทั้งปียังหดตัว YoY โดยมีความกังวลจากการจ้างงาน, ท่องเที่ยวฟื้นตัวล่าช้า โดยคาดจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี หรือปี 65 เป็นต้นไป กว่ากลับไปสู่ระดับก่อนเกิด COVID-19

โดย กนง. เน้นว่ายังพร้อมใช้เครื่องมือทางนโยบายเพิ่มเติมหากจำเป็น และประเมินว่าแม้อัตราเงินเฟ้อปี 63 จะติดลบ แต่ปี 64 คาดว่า จะขยายตัวกลับมาเป็นบวก

ขณะที่ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า สภาพคล่องส่วนเกินที่ล้นระบบ ยังคงถูกแตะเบรก จากวิกฤติ COVID-19 ที่ขยายวงกว้าง และกลับมาแพร่ระบาดในเอเชียอีกครั้ง รวมถึงประเด็นการทบทวนข้อตกลงทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 ส.ค.63

ความเสี่ยงดังกล่าว ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนยังไม่ได้ไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงเท่าที่ควร แต่ให้น้ำหนักไปที่สินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่า สะท้อนได้จากราคาทองยังคงขยับขึ้น 10.9% ในเดือน ก.ค. และต่อเนื่องอีก 2.3% ในเดือน ส.ค. (mtd) จนล่าสุดทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ยังปรับตัวขึ้นได้น้อยกว่า

ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนยังคงชื่นชอบ 6 หุ้น ที่มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยมีองค์ประกอบหนุนที่สำคัญดังนี้ หุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง ที่ฝ่ายวิจัยแนะ “ซื้อ”, มี Upside และแนวโน้มกำไรเติบโตดีกว่าภาพรวมตลาด (EPS Growth สูงกว่าของตลาด) ขณะที่ราคาหุ้น Laggard กว่ากลุ่มฯ (ซื้อขายบน P/E น้อยกว่ากลุ่ม) และมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวหนุน!!

ได้ 6 หุ้นปลอดโควิด ดังนี้ SPVI–INSET–STA–AP–INTUCH และ CPALL!!


ที่มา คอลัมน์ เงาหุ้น โดย อินเด็กซ์ 51 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

บล.ทรีนีตี้ จับมือ บิทคับ ออนไลน์ ชวนลูกค้าลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล

นายชาญชัย กงทองลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ เปิดเผยว่า บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ ร่วมกับคุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้ง พัฒนาความรู้ การลงทุนใน Cryptocurrency ที่ถูกต้องให้กับนักลงทุน โดยอาศัยบทวิจัยและบทวิเคราะห์ทางเชิงปริมาณเพื่อเป็นแนวทางให้กับนักลงทุนในการจัดการสินทรัพย์ประเภทการลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) เพื่อเป็นการต่อยอดของการจัดการสินทรัพย์

โดยความร่วมมือธุรกิจในครั้งนี้บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จะเป็นผู้แนะนำลูกค้า เพื่อเปิดบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล บิทคับ ออนไลน์ จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับ สินทรัพย์ดิจิทัล (Cryptocurrency)ให้แก่ลูกค้าและนักลงทุนทั่วไป สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นไม่นาน นักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่มีข้อมูล และความรู้ในเรื่องนี้มากนัก การให้ความรู้ที่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง

ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บล. ทรีนีตี้ เปิดเผยว่า ทรีนีตี้ ตระหนักถึงความสำคัญที่นักลงทุนจะต้องบริหารสินทรัพย์ โดยการจัดสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) ให้สอดคล้องกับการผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยได้แนะนำให้ นักลงทุนแบ่งสัดส่วนการลงทุนดังนี้ คือ

1. ลงทุนในตลาดหุ้นไทย สัดส่วน 20% เพราะตลาดหุ้นไทยมีความโดดเด่นเรื่องผลตอบแทนจากเงินปันผล
2. ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ สัดส่วน 15% เน้นน้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและอาหาร
3. ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ สัดส่วน 30% เพื่อที่จะรับกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยสม่ำเสมอ
4. ลงทุนในทองคำ สัดส่วน 5-10% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐฯ ที่ติดลบ จะส่งผลดีต่อราคาทองคำ
5. ถือเงินสด 25% เพื่อรอจังหวะซื้อสินทรัพย์ในช่วงที่มีราคาถูก
6. ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment) เช่น Bitcoin หรืออื่นๆ ในสัดส่วน 1-5%

​”ในปี 2020 การลงทุนใน Bitcoin ให้ผลตอบแทนกว่า 53% นับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ส่วนการลงทุนทองคำในรูปเงินบาท ให้ผลตอบแทนกว่า 32% หุ้น NASDAQ ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีให้ผลตอบแทน 19% หุ้นจีน ให้ผลตอบแทน 7% ขณะที่หุ้นไทยให้ผลตอบแทนติดลบ 14.7% และ Thai REIT ให้ผลตอบแทนติดลบมากถึง 20.4%”

ทรีนีตี้มองว่า การจัดสรรเงินลงทุนใน Cryptocurrency ในระดับ 1-5% เป็นการกระจายความเสี่ยงของการลงทุน เนื่องจาก Cryptocurrency มีความสัมพันธ์ที่มีสหพัทธ์หรือ Correlation กับราคาสินทรัพย์อื่นๆ ในระดับต่ำ และปัจจุบันความผันผวนของสินทรัพย์ของ Cryptocurrency ได้ลดลงมาในระดับ 50% ซึ่งพอรับได้ในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ทางเลือก เมื่อเปรียบเทียบกับความผันผวนในอดีตที่ระดับ 80-90%

เงาหุ้น : มุมมองทิสโก้

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 4 ส.ค.63 ปิดที่ 1,330.81 จุด เพิ่มขึ้น 9.58 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 55,135.61 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 1,823.51 ล้านบาท

หุ้นมูลค่าซื้อขายสูงสุด PTT ปิด 38 บาท ลบ 0.50 บาท, DELTA ปิด 113.50 บาท ลบ 9.50 บาท, AOT ปิด 51.25 บาท บวก 1.50 บาท, MINT ปิด 18.60 บาท บวก 0.70 บาทและ CPALL ปิด 69.25 บาท บวก 0.50 บาท

มีมุมมองจากบล.ทิสโก้ “อภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล” ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ เผยว่า ปัจจุบันหุ้นไทยอยู่ในช่วงการปรับฐานหาสมดุลใหม่ และมีแนวโน้ม Underperform หรือปรับขึ้นน้อยกว่าหุ้นโลกอีกสักระยะ จาก 3 ปัจจัยเสี่ยงที่กดดันตลาดอยู่

คือ 1.ประมาณการกำไรของตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสปรับลงอีก โดยจากการรวบรวมประมาณการกำไรของตลาดโดยรวม (Bloomberg Consensus) 133 หลักทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วน 76% ของมูลค่าตลาดรวม คาดจะมีกำไรสุทธิรวมเพียง 9.01 หมื่นล้านบาท ลดลง 49% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 17% เทียบกับไตรมาสก่อน

2.การเมืองระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่มีแนวโน้มตึงเครียดมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าใกล้วันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้น 3 พ.ย.นี้ ส่วนปัจจัยการเมืองในประเทศยังคงอึมครึม คาดว่าการปรับ ครม.จะเกิดขึ้นภายในต้น ส.ค.นี้

3.การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต่อจากนี้อาจหยุดชะงักหรืออ่อนแอลง เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงที่ผ่านมากำลังทยอยหมดลง ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกถัดไปอาจล่าช้าหรือไม่เพียงพอ ประกอบกับมี COVID-19 ระลอกสองในหลายประเทศ อาจทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะสั้น

ทั้งนี้ แนะให้นักลงทุนหาจังหวะซื้อหุ้นช่วงที่ดัชนีลงมาต่ำกว่า 1,300 จุด เน้นลงทุนในหุ้นงบดีมีปันผลจ่ายระหว่างกาล เช่น CPF, DCC, SMPC และ TVO รวมทั้งหุ้นบางตัวที่ตลาดมีโอกาสปรับประมาณการกำไรขึ้น เช่น AP, CPF, DCC และ PRM

หุ้นเด่น แนะนำเดือน ส.ค.ได้แก่ AP, CPF, DCC, PRM, SMPC และ TVO ด้านเทคนิคให้แนวรับแรกที่ 1,300–1,305 จุด แนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,250–1,280 จุด ส่วนแนวต้านสำคัญของเดือนนี้อยู่ที่ 1,350 จุด ถัดไปที่ 1,380–1,390 จุด!!


ที่มา คอลัมน์ เงาหุ้น โดย อินเด็กซ์ 51 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เงาหุ้น : มุมมองทรีนีตี้

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 3 ส.ค.63 ปิดที่ 1,321.23 จุด ลดลง 7.30 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 54,716.16 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 1,452.89 ล้านบาท

หุ้นมูลค่าซื้อขายสูงสุด AOT ปิด 49.75 บาท ลบ 1.75 บาท, KBANK ปิด 82.25 บาท บวกเพิ่มขึ้น 1.25 บาท, STGT ปิด 84.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.75 บาท, CBG ปิด 125.50 บาท เพิ่มขึ้น 4 บาท และ DELTA ปิด 123 บาท บวก 9.50 บาท

ตลาดหุ้นไทยและหุ้นทั่วโลกยังคงถูกกดดันด้วยปัจจัยเดิมๆคือ การแพร่ระบาดรอบ 2 ของไวรัสโควิด-19 ที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก

ขณะที่มุมมองโบรกเกอร์ถึงทิศทางตลาดภาพรวมเดือน ส.ค. โดย “ณัฐชาต เมฆมาสิน” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ ระบุว่า ดัชนีหุ้นไทยเริ่มอยู่ในระดับที่สมดุลมากขึ้น หลังปรับตัวลงมาช่วงปลายเดือน ก.ค. โดยมีกรอบแนวต้านที่ระดับ 1,360 จุด อิงพี/อีล่วงหน้าที่ 16.8 เท่า และ EPS ของตลาดปีหน้าที่ 81 บาท ขณะที่มีแนวรับที่ 1,270 จุด อิงพี/อีล่วงหน้าที่ 15.7 เท่า

โดยหากดัชนีหลุดระดับ 1,300 จุดลงมา ถือเป็นโอกาสดีในการทยอยเพิ่มน้ำหนักซื้อหุ้นรอบใหม่ หลังแนะนำให้ชะลอการลงทุนมาตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยหุ้นเดือน ส.ค.มีปัจจัยหนุนส่วนหนึ่งจากสภาพคล่องที่จะไหลจากตลาดพันธบัตรเข้าสู่ตลาดหุ้น หลังวงเงินการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเดือนนี้จะลดลงจากเดือนก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งน่าจะช่วยลดแรงกดดันการดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาดหุ้น ที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาได้บ้าง

ประกอบกับช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นได้ปรับตัวลง จนทำให้ Earning yield gap กระเตื้องขึ้นจากจุดต่ำสุด จึงทำให้ความน่าสนใจของ SET Index เริ่มกลับมา

โดยธีมการลงทุนเดือน ส.ค. แนะนำลงทุนในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริหารหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ชอบ JMT และ CHAYO กลุ่มเกษตรและอาหาร เชียร์ TFG-ASIAN-APURE-SUN-XO

กลุ่มปั๊มน้ำมัน ชู PTG เด่น ขณะที่กลุ่มแพ็กเกจจิ้ง SFLEX- PTL น่าสนใจสุด ด้านกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีการเติบโตดี เลือก TPCH-SSP และกลุ่มหุ้นขนาดกลาง-เล็กอื่นที่ยังมี Valuation ถูก เมื่อเทียบกับการเติบโตที่รออยู่ ได้แก่ ILINK-PRM-SMPC!!


ที่มา คอลัมน์ เงาหุ้น โดย อินเด็กซ์ 51 หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

เงาหุ้น : โฟกัสหุ้น AOT!!

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 31 ก.ค.63 ปิดที่ 1,328.53 จุด บวก 12.79 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 61,281.13 ล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,131.58 ล้านบาท

หุ้นมูลค่าซื้อขายสูงสุด PTT ปิด 39 บาท บวก 1 บาท, AOT ปิด 51.50 บาท ลบ 0.75 บาท, KBANK ปิด 81 บาท ลบ 1.50 บาท, GULF ปิด 33.75 บาท บวก 0.25 บาท และ IVL ปิด 25 บาทบวก 1.50 บาท มีแรงซื้อกลับหุ้นรายกลุ่มรายตัวที่ราคาปรับตัวลงแรง ดันดัชนีมาปิดตลาดในแดนบวก

หุ้น AOT ร่วงหลังผู้บริหารออกมายอมรับว่า วิกฤติโควิดที่กระทบกับการเดินทางทั่วโลกรวมทั้งในประเทศส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินอย่างรุนแรง ทำให้บริษัทมีปัญหาขาดสภาพคล่องและอาจทำให้ปี 64 บริษัทอาจมีผลขาดทุนได้ และมีการขยายเวลาสัมปทานกับคิงเพาเวอร์ออกไปรวมทั้งปรับการจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำให้คิงเพาเวอร์

สำหรับมุมมองโบรกเกอร์สำนักต่างๆ นั้น บล.บัวหลวงยังคงแนะนำ “ซื้อ” ให้ราคาเป้าหมาย 68 บาทตามด้วย บล.ทิสโก้ แนะ “ซื้อ” ให้มูลค่าที่เหมาะสม 64 บาท ขณะที่ โนมูระ พัฒนสิน แนะ “Trading Buy” ให้ราคาเป้าหมาย ที่ 59 บาท ส่วน หยวนต้า (ประเทศไทย) แนะ “TRADING” ให้ราคาเหมาะสม 52.50 บาท

ด้าน บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส แนะแค่ “ถือ” ให้ราคาเป้าหมาย 60 บาท ขณะที่ บล.กรุงศรี แนะ “ถือ” เช่นกัน โดยให้ราคาเป้าหมาย 56 บาท

สำหรับเหตุผลของ บล.บัวหลวง ที่แนะนำซื้อ ให้ราคาเป้าหมายสูงสุด 68 บาท ระบุว่าการปรับการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ, สัญญาสัมปทานดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิและ 3 สนามบินภูมิภาครวมถึงพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่ King Power ชนะไปในปี 2019 จากเดิม “แบบขั้นต่ำเป็นจำนวนเงิน” เป็น “แบบต่อหัวขั้นต่ำ (sharing per head)” นั้น

เราปรับลดประมาณการกำไรเพื่อสะท้อนการปรับลดค่าตอบแทน ปี FY65-66 ลง 6% และ 12% ตามลำดับ โดยที่ปี FY65 จะกระทบครึ่งปี (สัมปทานเริ่ม 1 เม.ย.65) และปี FY66 กระทบเต็มปี และคาดปี FY67 จะกลับมาในระดับก่อน COVID ได้ ทั้งนี้ มองว่าราคาหุ้นจะถูกกดดันจากการปรับลดกำไรในระยะสั้น

ประเมินผลกระทบต่อกำไรที่เสียโอกาสไปราว 0.35 บาท/หุ้น จึงคงคำแนะนำ ซื้อสำหรับการลงทุนระยะยาว!!

ที่มา คอลัมน์ เงาหุ้น โดย อินเด็กซ์ 51 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ